
เป้าหมายที่ 12: สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns)
ปีงบประมาณ 2562
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการ “สังคมดี วิถีชุมชน ณ ช่องกระเหรี่ยง”
ที่มาและความสำคัญ : ด้วยวิสัยทัศน์ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ “เชื่อมโยงและรับใช้สังคมอย่างรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและมีสุขภาวะ” ประกอบกับทางคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีทั้งนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยแบ่งออกเป็น 4 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาสังคมศาสตร์ ภาควิชามนุษยศาสตร์ ภาควิชาศึกษาศาสตร์ และภาควิชาสังคมและสุขภาพ ประกอบกับปัจจุบันยังมีอีกหลายพื้นที่ในภาคตะวันตก ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเดียวกับมหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีความต้องการการพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพและองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีสุขภาวะที่ดีได้
ดังนั้น หน่วยกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และหน่วยบริหารและส่งเสริมการวิจัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ “สังคมดี วิถีชุมชน ณ ช่องกะเหรี่ยง” ขึ้น ณ ชุมชนบ้านหนองทราย ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และ ชุมชนบ้านช่องกระเหรี่ยง ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการรับใช้สังคมอย่างรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพ ให้กับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผ่านกระบวนการบูรณาการองค์ความรู้จากทั้ง 4 ภาควิชา นำไปสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้เกิดความตระหนักถึงปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ “ปัญญาของแผ่นดิน” เพื่อเข้าไปร่วมในการนำองค์ความรู้สู่ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน เสริมสร้างความเป็นผู้นำ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างองค์การทางการศึกษากับชุมชน และที่สำคัญเพื่อเป็นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ร่วมกิจกรรม สามารถนำองค์ความรู้ที่ตนได้รับไปใช้ประโยชน์ในการรับใช้สังคมอย่างรับผิดชอบ และมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างให้สังคมเกิดเป็นสังคมที่เป็นธรรมและมีสุขภาวะ (อ่านเพิ่มเติม)
ปีงบประมาณ 2563
โครงการทอดผ้าป่าสีเขียว
ภารกิจหลักที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติ คือ ภารกิจการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินการตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้มีการดำเนินการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับบุคคล ระดับภาควิชา ระดับคณะ และระดับสถาบัน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งเป็นการธำรงไว้ซึ่งจารีตประเพณีอันดีงามและได้ส่งเสริมนำพาอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรของภาควิชา ได้มีโอกาสทำบุญ ได้รู้จักการเสียสละทุนทรัพย์เพื่อการกุศล อันจะส่งผลให้เกิดผลบุญขึ้นในจิตใจ เกิดความสงบสุข ความดีงามแด่ตนเองและหมู่คณะ
ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดโครงการทอดผ้าป่าสีเขียว ในวันที่ 9 มีนาคม 2563 ณ วัดป่าสติปัฏฐานญาณสัมปันโน ศาลายา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดประเพณีการทำบุญที่เป็นการทำนุบำรุงศาสนา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการทำบุญด้วยข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้วัดเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชนโดยรอบ ในการดำเนินโครงการครั้งนี้มีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาปัจจุบันในภาควิชาศึกษาศาสตร์ และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมรวมจำนวน 30 คน เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ และนักศึกษา ในการทำนุบำรุงศาสนา และเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์จากการทำบุญด้วยของใช้ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)
Web Link: https://www.facebook.com/1453826498214632/posts/2452473278349944/?d=n
ปีงบประมาณ 2564
โครงการความร่วมมือการบริหารจัดการขยะภายใต้โครงการ Care the Whale
ระหว่างคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหิดลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ที่มีสภาพแวดล้อมน่าอยู่ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา บุคลากรและชุมชนโดยรอบ เพื่อให้การพัฒนาไม่หยุดเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป โดยปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงานให้เป็นสำนักงานสีเขียว หรือที่รู้จักกันว่า “Green Office” จึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ทุกส่วนงานได้ร่วมตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม
ในการนี้ คณะกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงานสีเขียว (Green Office) และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นถึงประโยชน์ของโครงการ Care the Whale ซึ่งเป็นโครงการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงมีกำหนดการเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดการกำจัดขยะในสำนักสำนักงาน และให้บุคลากรตระหนักถึงปัญหาขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) มีขยะที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ปัญหาความแปรปรวนด้านสภาพภูมิอากาศอันเกิดมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเกิดความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจากจุดยืนของคณะฯ ลดการสร้างขยะจากต้นทาง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน สร้างคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความสมดุล และยับยั้งให้ระบบนิเวศเดิมของโลกนั้นไม่เสื่อมสลายไปมากกว่าที่เป็น
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดโครงการความร่วมมือการบริหารจัดการขยะภายใต้โครงการ Care the Whale ระหว่างคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนแนวคิดการกำจัดขยะในสำนักสำนักงาน และให้บุคลากรตระหนักถึงปัญหาขยะ ลดการสร้างขยะจากต้นทาง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน สร้างคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความสมดุล และยับยั้งให้ระบบนิเวศเดิมของโลกนั้นไม่เสื่อมสลายไปมากกว่าที่เป็น และมีการจัดบรรยาย 2 หัวข้อ ได้แก่ หัวข้อที่ 1 “โครงการ Care the Whale: ขยะล่องหน” โดยมีคุณนงรัก งามวิทย์โรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวิทยากร หัวข้อที่ 2 “ปฏิบัติการแยกแยะ ขยะล่องหน” โดยมีคุณจรัญพร เลิศสหกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนสไตล์ จำกัด เป็นวิทยากร พร้อมกับมีการเยี่ยมชมการดำเนินการจัดการขยะภายในคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตลอดระยะเวลากิจกรรมดังกล่าว มีกลุ่มเป้าหมาย อันได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และนักศึกษาเข้าร่วมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 53 คน นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals) ระหว่างคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)
การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการบริโภคที่ปลดปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
(อ่านเพิ่มเติม)
Web Link: http://sh.mahidol.ac.th/?p=9812
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=MUSHFanpage&set=a.2789137774683491
โครงการ “สังคม YOU เทิร์น คืนขวดพลาสติกใส พัฒนาการแพทย์”
ปัญหาขยะ ในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคและการแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) มีขยะที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ส่งผลกระทบก่อให้เกิดปัญหาความแปรปรวนด้านสภาพภูมิอากาศอันเกิดมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในการนี้ หน่วยบริหารทั่วไป งานบริหารจัดการ สำนักงานคณบดี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จึงจัดทำโครงการ“สังคม YOU เทิร์น คืนขวดพลาสติกใส พัฒนาการแพทย์” เพื่อเข้าร่วมแคมเปญ “YOU เทิร์น คืนขวดพลาสติกใส พัฒนาการแพทย์” ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) และเชิญชวนบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกันคัดแยกขยะให้ถูกวิธี พร้อมส่งขวดพลาสติกใสที่ใช้แล้ว กลับเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการขยะและเพิ่มมูลค่า เพื่อนำมากลับมา UPCYCLING ผลิตเป็นเสื้อโปโล และจำหน่ายเพื่อจัดหารายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สู้ภัย COVID-19 พร้อมวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2564 นี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และเป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being)
Web Link:
https://www.facebook.com/mahidolsdgs/photos/a.2339262269442692/4077546555614246/
โครงการงดหลอดเต่าปลอดภัย
ตามแผนการพัฒนาสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ปัญหาขยะในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม หลอดพลาสติกเป็นหนึ่งในขยะพลาสติกที่พบบ่อยที่สุดเมื่อมีการทำความสะอาดชายหาดมาก ๆ พอกับขวดน้ำ ถุงพลาสติกและแก้วพลาสติก ซึ่งหลอดมีลักษณะเล็ก น้ำหนักเบา จึงถูกพัดให้ปลิวกระจายไปตามที่ต่าง ๆ จนไหลลงสู่ทะเลที่สัตว์จำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาหาร จนคร่าชีวิตสัตว์น้ำทะเล เช่น เต่า ฯ ไปเป็นจำนวนมาก
โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนออนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 พ.ศ. 2563 – 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต้องเร่งดำเนินการ ลด-เลิกผลิตขยะพลาสติก และเตรียมประกาศห้ามใช้พลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ โฟม ถุงหิ้ว แก้ว และหลอดพลาสติกแบบเด็ดขาดในปี พ.ศ. 2565 ยกเว้นการใช้กรณีจำเป็น ได้แก่ การใช้ในเด็ก คนชรา ผู้ป่วย เป็นต้น พร้อมตั้งเป้าให้พลาสติกอีก 7 ชนิด เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งการลดหลอดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยสามารถปรับลดอันดับประเทศที่มีขยะพลาสติกในทะเลสูงสุดในโลกจากอันดับ 6 เป็น อันดับที่ 10 ได้สำเร็จ นั้น
ในการนี้ หน่วยบริหารทั่วไป งานบริหารจัดการ สำนักงานคณบดี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จึงจัดทำโครงการ “งดหลอด เต่าปลอดภัย” เพื่อเป็นแคมเปญลด-เลิกหลอดพลาสติก พัฒนาสิ่งแวดล้อม ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ.2564
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้จัดโครงการ ประกอบด้วย กิจกรรมโปสเตอร์รณรงค์งดหลอด คลิปวีดีโอรณรงค์งดหลอด สัมมนางดหลอดเต่าปลอดภัย กิจกรรมตอบคำถามลุ้นรับหลอดรักษ์โลก และกิจกรรมบริจาคหลอดได้บุญ ภายใต้โครงการงดหลอดเต่าปลอดภัย ตามแผนการพัฒนาสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมบริจาคหลอดได้บุญเปิดรับบริจาคหลอดพลาสติกที่ใช้แล้วและผ่านการทำความสะอาด ตากแดดหรือผึ่งให้แห้ง ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 9 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองคณบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน เป็นตัวแทนรวบรวมหลอดพลาสติกนำส่งให้กับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับมา จังหวัดระยอง เพื่อนำไปทำเป็นหมอนมอบให้กับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงไม่เกิดบาดแผลกดทับจากปุ่มกระดูก ช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงเกิดความสบายตัวในการนอน ลดการสะสมของไรฝุ่นและโรคภูมิแพ้ เกิดประโยชน์แก่สังคมต่อไป ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals)
Web Link:
http://sh.mahidol.ac.th/?p=10233
https://www.facebook.com/MUSHFanpage/photos/a.1582950298635584/2861072480823353/
https://www.facebook.com/MUSHFanpage/photos/a.1582950298635584/2879708112293123/
https://www.facebook.com/MUSHFanpage/photos/pcb.2885246265072641/2885245605072707/
https://www.facebook.com/MUSHFanpage/photos/a.1582950298635584/2894633894133878/
ข้อมูลงานวิจัยที่มีผลลัพธ์ (Impact) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs) ประจำปีงบประมาณ 2564
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่องานวิจัย | การศึกษาปริมาณขยะในครัวเรือนช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 |
ชื่อผู้วิจัย | รศ.ดร. ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์ |
ที่มาและความสำคัญ | การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนไปจากเดิม โดยประชาชนจำเป็นที่จะต้องมีการใช้หน้ากากอนามัยในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศให้มีการยกระดับมาตรการป้องกันด้วยการจำกัดการเดินทางให้ประชาชนอยู่เพียงแต่ในที่พักอาศัย ปิดร้านค้า และสถานบริการเกือบทุกประเภทยกเว้นที่จะเป็น เช่น ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านอาหาร ร้านยา เป็นต้น อักทั้งยังสนับสนุนการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ส่งผลทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนปรับเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น การกักตุนอาหารสดและอาหารแห้งเป็นจำนวนมาก การสั่งซื้อสินค้าและอาหารปรุงสุกออนไลน์ในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น เหล่านี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของขยะประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“หน้ากากอนามัย” จึงเป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อที่สำคัญในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีปริมาณการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นมากอยู่ที่ 1.56 ล้านชิ้น/วัน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดที่มีปริมาณการใช้หน้ากากอนามัยอยู่ที่ประมาณ 0.8 ล้านชื้น/วัน (กรรณิการณ์ ธรรมพานิชวงศ์ และวิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ, 2563) โดยหน้ากากอนามัยของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่ใช้ในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล จัดเป็นขยะติดเชื้อ (Infectious Waste) เช่นเดียวกับเข็มฉีดยา สำลี ผ้าก๊อซ เพราะมีเชื้อโรคปะปนอยู่ (“หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง” อย่าทิ้งมั่ว! อาจเป็นขยะติดเชื้อ, 2563) ซึ่งจะถูกกำจัดในรูปแบบพิเศษตามมาตรฐานของโรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังมีหน้ากากอนามัยที่มาจากครัวเรือนเพิ่มขึ้นอีกด้วย คือ หน้ากากอนามัยของผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019/ผู้ถูกกักตัวเพื่อสังเกตอาการ แต่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หน้ากากอนามัยประเภทนี้จัดเป็นขยะติดเชื้อ (Infectious Waste) ที่ต้องการการจัดการอย่างเหมาะสม รวมถึงหน้ากากอนามัยของคนที่ไม่ติดเชื้อ แต่ใช้ใส่เพื่อป้องกันตัวเองโดยไม่ได้ทำงานในสถานพยาบาลต่าง ๆ หน้ากากอนามัยเหล่านี้จัดเป็นขยะทั่วไปที่สามารถใช้วิธีการกำจัดเช่นเดียวกับการกำจัดมูลฝอยชุมชน (Municipal Waste) แต่ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้มีการขอร้องเป็นพิเศษให้นำหน้ากากอนามัยใส่ถุงใสแยกออกจากขยะอื่น ๆ และระบุไว้ที่ถุงว่าเป็น “หน้ากากอนามัยใช้แล้ว” มัดถุงให้แน่นแล้วทิ้งในถังขยะทั่วไป หรือถังขยะที่มีฝาปิด ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ขนขยะมูลฝอย หรือพนักงานเก็บขยะทั้งในกรุงเทพฯ และตามจังหวัดต่าง ๆ สามารถแยกไว้ในถังขยะท้ายรถและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป (“หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง” อย่าทิ้งมั่ว! อาจเป็นขยะติดเชื้อ, 2563) อย่างไรก็ตาม หากประชาชนไม่ได้จัดการหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วตามคำแนะนำอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การคัดแยกอย่างไม่ถูกวิธีและทิ้งปะปนกับขยะชุมชน จะส่งผลให้พนักงานที่ทำหน้าที่เก็บขนขยะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเมื่อขยะถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น เทกองกลางแจ้ง ก็อาจจะเพิ่มโอกาสที่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะแพร่กระจายไปยังคนในชุมชนทั้งทางน้ำและทางอากาศ นอกนั้น หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Surgical Mask) มีองค์ประกอบที่ผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายยาก เช่น พอลิโพรไพลีน (Polypropylene: PP) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง รวมไปถึงลวดสำหรับปรับให้เข้ากับโครงการจมูกก็ทำมาจากแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก หรือลวดโลหะอะลูมิเนียม หากขยะหน้ากากอนามัยเหล่านี้รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมก็จะเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ (กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงศ์ และวิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ, 2563) มาตรการ lockdown ยังทำให้ผู้คนหันมาใช้บริการสั่งซื้อสินค้าอาหารออนไลน์แทนการออกไปซื้อสินค้าอาหารนอกบ้าน ส่งผลให้ปริมาณ “ขยะรีไซเคิล” ทั้งขยะพลาสติกและขยะกระดาษในครัวเรือนมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าการสั่งซื้อสินค้าอาหารออนไลน์จะมีการขยายตัวอย่างชัดเจนมาก่อนหน้านี้ แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านมา มีการขยายตัวของการสั่งซื้อสินค้าอาหารออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 100% (วิจารย์ สิมาฉายา, 2563ก) โดยผู้บริโภคจะได้รับขยะพลาสติกประมาณ 5-10 ชิ้นต่อการสั่งอาหารในแต่ละครั้ง เช่น กล่องพลาสติกใส่อาหาร ซองเครื่องปรุงรส ช้อนและส้อมพลาสติก แก้วพลาสติก กระดาษทิชชู ซึ่งทุกชิ้นจะถูกหุ้มด้วยซองพลาสติกอีกหนึ่งชั้น (วิจารย์ สิมาฉายา, 2563ข) นอกจากนั้น ในช่วงการ lockdown ยังมีการกักตุนสินค้าอาหารมากขึ้น โดยมีรายงานว่า ผู้คนในสหรัฐอเมริกามีการซื้อสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น 37% อาหารแช่แข็ง 31% และอาหารบรรจุหีบห่อ 22% ในขณะที่มีการซื้อผักและผลไม้ลดลง 15% (International Food Information Council [IFIC}; 2020) การซื้ออาหารอย่างตื่นตระหนกและขาดการวางแผน อาจทำให้เกิดการซื้ออาหารที่มากเกินความต้องการ และเมื่อรับประทานไม่หมด หรือเก็บไว้นานเกินวันหมดอายุ อาหารเหล่านั้นจะถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากน้ำชะขยะ (Leachate) และก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการย่อยสลายขยะอาหารที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องบริเวณหลุมฝังกลบ (ภัทรานิษฐ์ ศีจันทราพันธุ์, 2563) การจัดการขยะเหล่านี้อาจมีความแตกต่างไปจากสถานการณ์ปกติ เช่น ขยะรีไซเคิลต่าง ๆ จะไม่สามารถนำไปขายตามร้านรับซื้อขยะได้เช่นเดิม เนื่องจากอยู่ในช่วง lockdown ส่วนขยะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วมักถูกนำไปทิ้งปะปนกับขยะทั่วไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สู่ผู้อื่นได้ หรือแม้แต่การกักตุนอาหารเกินความจำเป็นในช่วงการ lockdown นำไปสู่การสูญเสียอาหารและเพิ่มปริมาณขยะอาหารโดยเปล่าประโยชน์ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความรู้และความเข้าใจในการจัดการขยะประเภทต่าง ๆ อย่างเหมาะสมภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการจัดการขยะแต่ละประเภทในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี และสมทรสาคร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการขยะประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือนเหมาะสมในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 |
วัตถุประสงค์ | 1. สำรวจปริมาณขยะประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019
2. ศึกษารูปแบบการจัดการขยะในประเภทต่าง ๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 3. ศึกษาอุปสรรคในการจัดการขยะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 |
ขอบเขตพื้นที่การศึกษา | พื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี และสมุทรสาคร) |
แหล่งทุนสนับสนุน | ทุนสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่ร่วมมือ | – |
ระดับความร่วมมือ | – |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | – |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ | 1. ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปริมาณ รูปแบบการจัดการ สภาพปัญหาการจัดการขยะประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019
2. ผลจากการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อพิจารณาและข้อมูลในการนำไปต่อยอดงานวิจัยและขอทุนวิจัยต่อไป 3. ผลจากการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อพิจารณาของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและสถาบันการศึกษา ในการวางแผนและพัฒนาเสริมสร้างพฤติกรรมการทิ้งขยะและลดปัญหาการจัดการขยะประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 |
การตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs) | เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)
เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) |
Web link การดำเนินงาน (หากมี) | https://utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/412/1_17.pdf |
รูปภาพประกอบ (หากมี) | – |
โครงการแนวทางการจัดการยาเหลือใช้และยาหมดอายุที่เหมาะสม
ที่ผ่านมาพบว่าไม่มีแหล่งรับทิ้งยาเหลือใช้และยาหมดอายุที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งในระดับชุมชน หรือแม้แต่ในสถานพยาบาล จึงทำให้ยาเหลือใช้และยาหมดอายุถูกทิ้งปะปนไปกับขยะมูลฝอยครัวเรือน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์ ได้มีการต่อยอดงานวิจัยได้ดำเนินการประดิษฐ์ “นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกยาหมดอายุและยาเหลือใช้” ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ถังขยะคัดแยกยาหมดอายุและยาเหลือใช้” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 18008 ออกให้ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2564
ซึ่งจะสร้างผลลัพธ์ที่สำคัญในการส่งเสริมการจัดการยาเหลือใช้และยาหมดอายุที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ที่จะผลักดันสังคมไปสู่ “สังคมแห่งความปลอดภัยด้านยาและสิ่งแวดล้อม” ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 12 ที่ต้องการกำจัดขยะที่เป็นพิษและมลพิษ
Web Link:
http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/b2439abddfd66efc761f8aa6ac56ce5c.pdf