(สรุปเนื้อหาสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซต์คณะสังคมฯ ในส่วนของสำนักวิจัยฯ)
โครงการประชุมความร่วมมือเครือข่าย STS Cluster ประจำปี พ.ศ. 2563
สืบเนื่องจากการที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการจัดการประชุม STS Cluster ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยและนักวิชาการจากต่างสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาในประเด็นที่สัมพันธ์กับ Science, Technology and Society (STS) ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแง่มุมเชิงสังคมของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกันเพื่อนำโครงการดังกล่าวเสนอแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยในอนาคต ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการดำเนินงาน “โครงการประชุมความร่วมมือเครือข่าย STS Cluster ประจำปี พ.ศ. 2563” เพื่อสานต่อโครงการในปีก่อนหน้า โดยมีเป้าหมายคือการขยายเครือข่าย และจัดกิจกรรมกับองค์กรและหน่วยงานในภาคส่วนของรัฐบาลและเอกชน รวมถึงมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศเพื่อสร้างพื้นที่ในการพูดคุยและวางแผนการวิจัยในอนาคต อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของ STS Cluster มีลักษณะเป็นการทำงานระยะยาว มีความท้าทายอยู่ที่การพยายามรวมกลุ่มนักวิชาการและบุคคลที่มาจากหลากหลายหน่วยงาน และหลากหลายความเชี่ยวชาญ การสร้างพื้นที่และกิจกรรมเพื่อให้เกิดการพูดคุยและสร้างเป็นเครือข่าย รวมถึงการสร้างองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่สารธารณะจึงเป็นเป้าหมายของโครงการปี พ.ศ. 2563 ผลลัพธ์ของโครงการนี้คือการจัดทำสื่อออนไลน์ที่เป็น blog ของ STS Cluster เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้การสร้างพื้นที่กิจกรรมระหว่าง STS Cluster กับหน่วยงานต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จึงเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การวางแผนงานต่าง ๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยน ระงับไว้ หรือเลื่อนออกไป ทำให้ทางโครงการจำเป็นต้องดำเนินงานในลักษณะการเสวนาวิชาการออนไลน์ โดยเชิญนักวิจัย นักวิชาการ จากหลากหลายสถาบัน เข้าร่วมเป็นวิทยากร โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายเครือข่ายนักวิชาการและเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ และยังคงยึดผลลัพธ์เดิมคือการจัดทำสื่อออนไลน์ที่เป็น blog ของ STS Cluster
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าโครงการประชุมความร่วมมือเครือข่าย STS Cluster ประจำปี พ.ศ. 2563
มีความมุ่งหวังจะต่อยอดและขยายเครือขยายนักวิจัย เพื่อร่วมประชุม เสวนา สร้างองค์ความรู้ STS แม้จะมีนักวิชาการบางส่วนในประเทศไทยที่ได้ทำงานและวิจัยเกี่ยวกับ STS อยู่ก่อนแล้ว แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่าในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีหลักสูตรหรือกลุ่มนักวิชาการ STS โดยตรง ประเด็นด้าน STS แม้จะไม่ใช่ประเด็นใหม่ในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยมีการพูดถึงน้อยมาก นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่ามีนักวิจัยในประเทศไทยจำนวนหนึ่งทำวิจัยใน “ประเด็น” ที่เกี่ยวข้องกับ STS อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้นิยามว่าเป็นศาสตร์ในสาขา “STS” เนื่องจากสาขาวิชา STS มีอยู่ในระดับสากลในหลายมหาวิทยาลัยและเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นศาสตร์แบบสหวิทยาและมีลักษณะพลวัต การพูดคุยถึงความเป็นศาสตร์ของ STS จึงเป็นเรื่องสำคัญ และควรจะเป็นบทบาทที่เกิดขึ้นอย่างข้ามศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวพันกับเป้าหมายและปัญหาเชิงสังคม
อย่างไรก็ตาม การพูดคุยและเสวนาในประเด็น STS มีข้อท้าทายและอุปสรรคบางประการ เช่น การเปิดพื้นที่แบบสหวิทยาเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา นักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีจะมีกรอบคิดอย่างหนึ่ง ในขณะที่นักสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็มีกรอบคิดอีกอย่างหนึ่ง การพยายามเข้าในมุมมองของอีกฝ่ายจึงเป็นเรื่องที่ต้องเปิดพื้นที่ พูดคุย ประชุมหรือเสวนาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นเป้าหมายระยะยาว แตกต่างจากโครงการประเภทที่มีความเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่งที่มีความคงที่และชัดเจนอยู่แล้ว การสร้างเครือข่าย STS จึงต้องการความเข้าใจ ความมุ่งมั่น รวมถึงการวางแผนในระยะยาว
รายละเอียดกิจกรรมเสวนาออนไลน์ที่ได้ดำเนินการภายใต้โครงการนี้
ลำดับ |
กิจกรรม |
1 |
งานเสวนาอย่างเป็นกันเอง “Saturday Playground: ชวนศิลป์–วิทย์ คิดข้ามสาย”
|
2 |
การเสวนาออนไลน์เรื่อง “Sci-Fi: พลังการสื่อสารแง่คิดวิทยาศาสตร์กับจินตนาการทางสังคม”วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่าน Zoom Webinar และ Facebook Liveลิงก์ชมการเสวนาออนไลน์: https://fb.watch/5wkzNBy_cT/วิทยากรร่วมเสวนา:· อาจวรงค์ จันทมาศ – นักสื่อสารวิทยาศาสตร์· น้ำพราว สุวรรณมงคล – ผู้บริหารและก่อตั้งสำนักพิมพ์โซลิส (Solis Books)· อาจารย์ ณัชพล บุญประเสริฐกิจ – นักวิจัยด้านบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ผู้ดำเนินรายการ:· ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย – นักวิจัยด้าน STS สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
3 |
การเสวนาออนไลน์เรื่อง “จริยศาสตร์ของปัญญาประดิษฐ์: มุมมองเชิงพุทธ”วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่านทาง Zoom Webinar และ Facebook Liveลิงก์ชมการเสวนาออนไลน์: https://fb.watch/5wkFZys5Oq/วิทยากรร่วมเสวนา:· ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ – คณะอักษรศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย· ดร.ชนิกานต์ ว่องวิริยะ – ทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี / CEO และ Founder บริษัท EATLAB· ดร.เจิด บรรดาศักดิ์ – มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)ผู้ดำเนินรายการ:· ดร.ปิยณัฐ ประถมวงษ์ – คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
4 |
การเสวนาออนไลน์เรื่อง “เทคโนเครซี่กับการกำหนดนโยบายสาธารณะ: สภาพการณ์และการก้าวพ้น”วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่านทาง Zoom Webinar และ Facebook Liveลิงก์ชมการเสวนาออนไลน์: https://fb.watch/5wkHz40NPf/วิทยากรร่วมเสวนา:· ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ บุษบงก์ – สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่· ดร.พัชราภา ตันตราจิน – คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาผู้ดำเนินรายการ:· ดร.ธีรพัฒน์ อังศุชวาล – คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
5 |
การเสวนาออนไลน์เรื่อง “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปกครอง/การจัดการภาครัฐสมัยใหม่”วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่านทาง Zoom Webinar และ Facebook Liveลิงก์ชมการเสวนาออนไลน์: https://fb.watch/5wkJnnRwbY/วิทยากรร่วมเสวนา:· ดร.พบสุข ช่ำชอง – สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่· อ.วศิน ปั้นทอง – คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้ดำเนินรายการ:· ดร.ธีรพัฒน์ อังศุชวาล – คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
6 |
การเสวนาออนไลน์เรื่อง “อย่าหาทำ: เอไอกับสุนทรียะ”วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่านทาง Zoom Webinar และ Facebook Liveลิงก์ชมการเสวนาออนไลน์: https://fb.watch/5wkLpirJ5t/วิทยากรร่วมเสวนา:· วิริยะ สว่างโชติ – นักวิชาการอิสระและผู้แปลหนังสือ AI Aesthetics· อ.ดร.วรัญญู วรชาติ – สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลักษณ์· อ.ดร.ปิยบุตร สุเมตติกุล – คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผู้ดำเนินรายการ:· อ.ดร.ปิยณัฐ ประถมวงษ์ – คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
7 |
การเสวนาออนไลน์เรื่อง “สังคมความเสี่ยงและการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสังคมสมัยใหม่”วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่านทาง Zoom Webinar และ Facebook Liveลิงก์ชมการเสวนาออนไลน์: https://fb.watch/5wkN_iSSxb/วิทยากรร่วมเสวนา:· ปัญจภา ปิติไกรศร – PhD Candidate, Department of Sociology, University of Essex, UK· อ.ดร. ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ – คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์· อ.ดร.กุลพธู ศักดิ์วิทย์ – คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ดำเนินรายการ:· อ.ดร.ธีรพัฒน์ อังศุชวาล – คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
8 |
การเสวนาออนไลน์เรื่อง “เศรษฐกิจดิจิทัลกับทุนนิยม(ใหม่?)”วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2564 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่านทาง Zoom Webinar และ Facebook Liveลิงก์ชมการเสวนาออนไลน์: https://fb.watch/5wkPgc2W4e/วิทยากรร่วมเสวนา:· ดร.ปิยรัตน์ ปั้นลี้ – ผู้แปล Changemakers จบปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาสังคม
|
9 |
การเสวนาออนไลน์เรื่อง “วิทยาศาสตร์ในวงการศึกษาและการพัฒนาสังคม”วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่านทาง Zoom Webinar และ Facebook Liveลิงก์ชมการเสวนาออนไลน์: https://fb.watch/5wkR3d4249/วิทยากรร่วมเสวนา:· ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ – ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ· อ.ภาคิน นิมมานนรวงศ์ – อาจารย์สาขาสังคมศึกษาฯ โรงเรียนกำเนิดวิทย์· ดร.จิดาภา คุ้มกลาง – อาจารย์หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลผู้ดำเนินรายการ:· ธีรพัฒน์ อังศุชวาล – คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล· ปิยณัฐ ประถมวงษ์ – คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |