Perspective Students | Current Students | Staff | Alumni | Partners
 

ภาควิชาสังคมและสุขภาพ

 

ปริญญาโท

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (พิเศษ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (พิเศษ)

ชื่อปริญญา

ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.เพ็ญจันทร์  เชอร์เรอร์ (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

(หลักสูตรภาคปกติ และภาคพิเศษ) 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา          คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ

ข้อมูลทั่วไป

๑. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:                      หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

ภาษาอังกฤษ:                   Master of Arts Program in Medical and Public Health SocialSciences

๒. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย        ชื่อเต็ม  :   ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

ชื่อย่อ   :   ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม  :   Master of Arts (Medical and Public Health Social Sciences)

ชื่อย่อ   :   M.A. (Medical and Public Health Social Sciences)

๓. วิชาเอก      :  ไม่มี

๔. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

๕.  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๕.๑ นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๒ นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๓ ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของรัฐและเอกชนด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๔ นักประเมินผลด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๖.  จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่นำองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์เน้นหนักทางด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ นโยบาย และกฎหมาย เป็นต้น  มาประยุกต์ใช้อธิบายสาเหตุและป้องกันสภาวะการเจ็บป่วย การบำรุงรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ และระบบสุขภาพ เป็นหลักสูตรทีมีความร่วมมือและมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่จะเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้ให้กับนักศึกษา เพื่อให้มีคุณสมบัติระดับเดียวกับผู้ที่จบจากต่างประเทศ  ทั้งมีโครงการพานักศึกษาไปดูงานภายในและต่างประเทศทุกปี และมีโครงการสนับสนุนนักศึกษาไปศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือและนำเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

๑.  ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     ๑.๑ ปรัชญา ความสำคัญ ของหลักสูตร

มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ทางทฤษฎี และการวิจัย ทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้มหาบัณฑิตมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการทำงานด้านสุขภาพอย่างบูรณาการ สร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ

     ๑.๒ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนมหาบัณฑิตตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้           

(๑) ประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดีทางวิชาการและวิชาชีพด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

(๒) มีความรู้ในหลักวิชาการทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข แสวงหาวิธีการพัฒนาด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

(๓)  วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน และสามารถดำเนินโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

(๔) มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

(๕)  มีทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อการสื่อสารและการ

วิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

       ๑.๑ ระบบ    ใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบหน่วยกิตระบบทวิภาค

      ๑.๒ การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน    ไม่มี

      ๑.๓ การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค    ไม่มี

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร

ผศ.ดร.เพ็ญจันทร์  เชอร์เรอร์ (ประธานหลักสูตร)

อ.ดร.ภัทรจิต  จุมพล กอซโซลี (เลขานุการหลักสูตร)

นางรุ่งอรุณ สิงคลีประภา (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

 

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์สุขภาพ (นานาชาติ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์สุขภาพ (นานาชาติ)

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์สุขภาพ

ประธานหลักสูตร

Asst. Prof. Dr. Mark Stephan Felix (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา           คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ

ข้อมูลทั่วไป

๑.  ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย      : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ  : Master of Arts Program in Health Social Sciences (International Program)

๒.  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย       ชื่อเต็ม  :  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์สุขภาพ)

ชื่อย่อ   :  ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สุขภาพ)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม  :  Master of Arts (Health Social Sciences)

ชื่อย่อ   :  M.A. (Health Social Sciences)

๓.  วิชาเอก      :         ไม่มี

 ๔.  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร     :   ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

๕.  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ ในสถาบันอุดมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

  • นักวิจัย นักวิเคราะห์และประเมินนโยบายสุขภาพ

  • นักวิชาการ นักวิจัย สถาบันและองค์กร ด้านการพัฒนาสังคมและสุขภาพภาครัฐหรือเอกชน

 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

 ๑.  ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     ๑.๑   ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) กำหนดขึ้นเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและผลักดันการประยุกต์สังคมศาสตร์ในฐานะของสหสาขาวิชา ในการตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพและการบริการสาธารณสุข ที่เนื่องมาจากภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงทั้งที่เป็นปัญหาในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยที่พันธกิจประการหนึ่งของหลักสูตร  คือ การทำหน้าที่ผลิตนักวิชาการและนักวิจัยที่มีคุณภาพสูงที่จะสามารถมีบทบาทอย่างสำคัญในการประยุกต์องค์ความรู้สังคมศาสตร์โดยบูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาด้านสุขภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มประเทศ        อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

       ๑.๒ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • ประพฤติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพทางสังคมศาสตร์สุขภาพ มีความรับผิดชอบ ผลิตงานวิชาการและวิจัยตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณที่ดี

  • ใช้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ และการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และเสนอแนวทางแก้ไขได้

  • บูรณาการ ประยุกต์และสร้างความรู้ในการตอบสนองต่อสถานการณ์และแนวโน้มทางสุขภาพ โดยใช้หลักวิชาการสังคมศาสตร์สุขภาพ และมีทักษะในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

  • มีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน มีภาวะผู้นำทางวิชาการ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม

  • มีทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวม
    สังเคราะห์ สื่อสาร และรายงานด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการและโครงสร้างของหลักสูตร

 ๑.  ระบบการจัดการศึกษา

     ๑.๑   ระบบ    ใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบหน่วยกิตระบบทวิภาค

     ๑.๒   การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน   -ไม่มี-

     ๑.๓   การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค   -ไม่มี-

 ๒.  การดำเนินการหลักสูตร

     ๒.๑   วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน 

จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ

     ๒.๒   คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

             ๒.๒.๑  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาสังคมศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่  พยาบาลศาสตรบัณฑิต  แพทยศาสตรบัณฑิต  ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต  และสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

๒.๒.๒  ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ หรือ ๗๕%

๒.๒.๓   มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

๒.๒.๔ ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการวิจัย การสอน หรือการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เรื่องการพัฒนาทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภูมิภาคอย่างจริงจัง จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

๒.๒.๕  ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

๓.  โครงสร้างหลักสูตร

      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร      ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร

Asst. Prof. Dr. Mark Stephan Felix(ประธานหลักสูตร)

ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ มะโรหบุตร(เลขานุการหลักสูตร)

นางสาวศิริอร กลางสำโรง  (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

 

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (ภาคปกติ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (ภาคปกติ)

ชื่อปริญญา

ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.ณัฐณีย์  มีมนต์ (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

(หลักสูตรภาคปกติ และภาคพิเศษ) 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา          คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ

ข้อมูลทั่วไป

๑. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:                      หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

ภาษาอังกฤษ:                   Master of Arts Program in Medical and Public Health SocialSciences

๒. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย        ชื่อเต็ม  :   ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

ชื่อย่อ   :   ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม  :   Master of Arts (Medical and Public Health Social Sciences)

ชื่อย่อ   :   M.A. (Medical and Public Health Social Sciences)

๓. วิชาเอก      :  ไม่มี

๔. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

๕.  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๕.๑ นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๒ นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๓ ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของรัฐและเอกชนด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๔ นักประเมินผลด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๖.  จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่นำองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์เน้นหนักทางด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ นโยบาย และกฎหมาย เป็นต้น  มาประยุกต์ใช้อธิบายสาเหตุและป้องกันสภาวะการเจ็บป่วย การบำรุงรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ และระบบสุขภาพ เป็นหลักสูตรทีมีความร่วมมือและมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่จะเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้ให้กับนักศึกษา เพื่อให้มีคุณสมบัติระดับเดียวกับผู้ที่จบจากต่างประเทศ  ทั้งมีโครงการพานักศึกษาไปดูงานภายในและต่างประเทศทุกปี และมีโครงการสนับสนุนนักศึกษาไปศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือและนำเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

๑.  ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     ๑.๑ ปรัชญา ความสำคัญ ของหลักสูตร

มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ทางทฤษฎี และการวิจัย ทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้มหาบัณฑิตมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการทำงานด้านสุขภาพอย่างบูรณาการ สร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ

     ๑.๒ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนมหาบัณฑิตตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้           

(๑) ประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดีทางวิชาการและวิชาชีพด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

(๒) มีความรู้ในหลักวิชาการทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข แสวงหาวิธีการพัฒนาด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

(๓)  วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน และสามารถดำเนินโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

(๔) มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

(๕)  มีทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อการสื่อสารและการ

วิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

       ๑.๑ ระบบ    ใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบหน่วยกิตระบบทวิภาค

      ๑.๒ การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน    ไม่มี

      ๑.๓ การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค    ไม่มี

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร

ผศ.ดร.ณัฐณีย์  มีมนต์ (ประธานหลักสูตร)

อ.ดร.จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน (เลขานุการหลักสูตร)

นางรุ่งอรุณ สิงคลีประภา (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

 

ปริญญาเอก

หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพนานาชาติ

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพนานาชาติ

ชื่อปริญญา

Ph.D. (Health Social Science)

ประธานหลักสูตร

Asst. Prof. Dr. Mark Stephan Felix (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา         :  มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา  :  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ

ข้อมูลทั่วไป

๑.  ชื่อหลักสูตร

   ภาษาไทย  : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

   ภาษาอังกฤษ  : Doctor of Philosophy Program in Health Social Science (International Program)

๒.  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย        ชื่อเต็ม  :  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมศาสตร์สุขภาพ)

                             ชื่อย่อ   :  ปร.ด. (สังคมศาสตร์สุขภาพ)

          ภาษาอังกฤษ     ชื่อเต็ม  :  Doctor of Philosophy (Health Social Science)

                             ชื่อย่อ   :  Ph.D. (Health Social Science)

๓.  วิชาเอก      :  ไม่มี

๔.  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

        ๔.๑  แบบ ๑  ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์

     แบบ ๑.๑ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก  ไม่น้อยกว่า ๔๘ หน่วยกิต

        ๔.๒  แบบ ๒ ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์

               แบบ ๒.๑ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก  ไม่น้อยกว่า ๕๔ หน่วยกิต

              แบบ ๒.๒  ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ไม่น้อยกว่า ๗๒ หน่วยกิต

๕.  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักวิชาการ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ

  • นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ

  • นักวิเคราะห์นโยบายด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ

  • นักพัฒนาองค์กรภาครัฐและเอกชน

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

๑.  ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     ๑.๑  ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

             หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งผลิตนักวิชาการและนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพสูง มีกรอบความคิดในการทำงานในระดับภูมิภาคและนานาชาติ (Regional & Internatiดำเนินการประเมินonal Framework) ให้กับประเทศและภูมิภาคอาเซียน และมีฐานคิดเชิงทฤษฎีแบบข้ามสาขาวิชา (Trans-disciplinary) เพื่อการเตรียมพร้อมด้านวิชาการ กำลังคน และเครือข่ายการวิจัย เพื่อการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ในภูมิภาค ที่จะติดตามมาจากการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในปี ๒๐๑๕ และการเปลี่ยนแปลงแผนที่ภูมิศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะเป็นกลไกในการสร้างสรรค์ และผลิตผลงานทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์สุขภาพในภูมิภาค เพื่อการตอบสนองและสร้างความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ปัญหาสุขภาพใหม่ๆ อีกทั้งยังเป็นพลังขับเคลื่อนทางวิชาการ (Critical Mass) และเป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายของนักสังคมศาสตร์สุขภาพนานาชาติได้เข้มแข็งและลดช่องว่างทางสุขภาพระหว่างประเทศ  บนพื้นฐานของความมีคุณธรรม  จริยธรรม  มีจรรยาบรรณและมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล

     ๑.๒  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

            เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ดุษฎีบัณฑิตมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้

๑.๒.๑  มีคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการ และวิชาชีพทางสังคมศาสตร์สุขภาพ

๑.๒.๒  เป็นนักวิชาการและนักวิจัย มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญในทฤษฎีทางสังคมศาสตร์สุขภาพและสามารถพัฒนาแนวคิดทฤษฎี สร้างทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ

๑.๒.๓  วิเคราะห์ปัญหาด้านทางด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ และสามารถประยุกต์ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ในเชิงบูรณาการเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม

๑.๒.๔  มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรับผิดชอบ และมีภาวะผู้นำ

 ๑.๒.๕  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร ศึกษา วิจัย การวิเคราะห์ตัวเลข และนำเสนอผลงานทางวิชาการได้อย่างถูกต้อง

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร

Asst. Prof. Dr. Mark Stephan Felix (ประธานหลักสูตร)

ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ มะโรหบุตร (เลขานุการหลักสูตร)

นางสาวศิริอร กลางสำโรง (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

 

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมศาสตร์และสุขภาพ)

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.ณัฐณีย์  มีมนต์ (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

 ชื่อสถาบันอุดมศึกษา            :   มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา     :   คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ

ข้อมูลทั่วไป

๑.  ชื่อหลักสูตร

     ภาษาไทย        :  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

     ภาษาอังกฤษ     :  Doctor of Philosophy Program in Medical and Public Health Social Sciences

๒.  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย        ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

                             ชื่อย่อ   :  ปร.ด. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

         ภาษาอังกฤษ     ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Medical and Public Health Social Sciences)

                            ชื่อย่อ   :  Ph.D. (Medical and Public Health Social Sciences)

๓.  วิชาเอก      :  ไม่มี

๔.  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

          ๔.๑ ผู้สำเร็จปริญญาตรี จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า  ๗๒  หน่วยกิต

          ๔.๒ ผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ  จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า  ๔๘  หน่วยกิต

          ๔.๓ ผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า  ๕๔  หน่วยกิต

๕.  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๕.๑  นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๒  นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๓  นักวิเคราะห์นโยบายด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๔  ผู้นำองค์กรด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๕.๕  ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขในระดับอุดมศึกษา

๖.  จุดเด่นของหลักสูตร

        เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่นำองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์เน้นหนักทางด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ นโยบาย และกฎหมาย เป็นต้น  มาประยุกต์ใช้อธิบายสาเหตุและป้องกันสภาวะการเจ็บป่วย การบำรุงรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ และระบบสุขภาพ เป็นหลักสูตรทีมีความร่วมมือและมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่จะเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้ให้กับนักศึกษา เพื่อให้มีคุณสมบัติระดับเดียวกับผู้ที่จบจากต่างประเทศ  ทั้งมีโครงการพานักศึกษาไปดูงานภายในและต่างประเทศทุกปี และมีโครงการสนับสนุนนักศึกษาไปศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือและนำเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

 ๑.  ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     ๑.๑  ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นนักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ สามารถวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีด้านสังคมศาสตร์ที่ประยุกต์กับการแพทย์และสาธารณสุขเชิงลึก มีความสามารถด้านการวิจัย สามารถประยุกต์หลักวิชาการสังคมศาสตร์ได้อย่างบูรณาการเพื่อการอธิบาย วิเคราะห์ ปัญหาสุขภาพ และสร้างความรู้ใหม่ทางด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมสุขภาวะ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

      ๑.๒ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ดุษฎีบัณฑิตมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้

๑.๒.๑ มีคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการ และวิชาชีพสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๑.๒.๒ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

๑.๒.๓ วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และสร้างความรู้ใหม่ทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม

๑.๒.๔ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรับผิดชอบ และมีภาวะผู้นำ

๑.๒.๕ เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในการผลิตและนำเสนอผลงานวิชาการ

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

 ๑.  ระบบการจัดการศึกษา

     ๑.๑  ระบบ    ใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบหน่วยกิตระบบทวิภาค

     ๑.๒  การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน   ไม่มี

     ๑.๓  การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค   ไม่มี

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร

ผศ.ดร.ณัฐณีย์  มีมนต์ (ประธานหลักสูตร)

อ.ดร.จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน (เลขานุการหลักสูตร)

นางรุ่งอรุณ  สิงคลีประภา (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)