Perspective Students | Current Students | Staff | Alumni | Partners
 

ภาควิชาสังคมศาสตร์

 

ปริญญาตรี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต เวชระเบียน วท.บ. (เวชระเบียน)

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.สุกัญญา จงถาวรสถิตย์ (ประธานหลักสูต)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
ผศ.ดร.สุกัญญา จงถาวรสถิตย์ (ประธานหลักสูตร)
อ.ดร. มยุรี โยธาวุธ (เลขานุการหลักสูตร)
น.ส.ชลธิชา ดิษฐเกษร (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)หน่วยงานที่รับผิดชอบ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน มุ่งสร้างบัณฑิตด้านเวชระเบียนที่มีคุณภาพ คุณธรรม มีเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นในวิชาชีพเวชระเบียน ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุข สถิติและคอมพิวเตอร์ อันเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ความรู้เพื่อการพัฒนางานด้านเวชระเบียน รวมทั้งให้บัณฑิตมีทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาพื้นฐานด้านการแพทย์ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้

  2. สามารถวิเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางด้านเวชระเบียน เพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศ และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ มาใช้กับการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม

  4. มีความรู้ด้านการบริหารงานด้านเวชระเบียน และการบริหารงานในสถานบริการทางทางการแพทย์และสาธารณสุข และสามารถประยุกต์ใช้ในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมกับขนาด และบริบทขององค์กรเหล่านั้น

 

ปริญญาโท

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ภาคปกติ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ภาคปกติ)

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.สุภาภรณ์  สงค์ประชา (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
ผศ.ดร.สุภาภรณ์  สงค์ประชา (ประธานหลักสูตร)
ผศ.ดร.คนางค์ คันธมธุรพจน์ (เลขาประจำหลักสูตร)
น.ส.ภานุการณ์  สนใจ (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอก : ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  1. รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาโท

  2. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย

  3. การรับเข้าศึกษา : รับเฉพาะนักศึกษาไทย

  4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ

  5. การให้ปริญญาแก่ผู้ส าเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. เนื้อหาของหลักสูตรฯมุ่งเน้นเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหลักสูตรฯอื่นๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ๒. วิธีการเรียนการสอนมุ่งเน้นการฝึกฝน เสริมสร้างประสบการณ์เพื่อให้ได้บุคลากรทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีความเป็นมืออาชีพ ๓. รายวิชามีความทันสมัยต่อสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความอ่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีรายวิชาที่บูรณาการความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และการฝึกภาคสนามเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ และความชำนาญ ๔. เป็นหลักสูตรที่ประยุกต์ศาสตร์ทางสังคมศาสตร์เพื่อให้สามารถจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก ๒

(๑)  สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาทาง

สังคมศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พยาบาลศาสตร์

ครุศาสตร์ ศิลปศาสตร์ (ตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด) จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

(๒)  มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

(๓)  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก

ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข

(๑)  สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ครุศาสตร์ ศิลปศาสตร์ (ตามที่คณะกรรมการ

บริหารหลักสูตรกำหนด) จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

(๒)  มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

(๓)  มีประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย ๑ ปี

(๔)  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก

ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก ๒

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3

หน่วยกิต

 

วิทยานิพนธ์

12

หน่วยกิต

 

รวมไม่น้อยกว่า

36

หน่วยกิต

แผน ข

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

9

หน่วยกิต

 

สารนิพนธ์

6

หน่วยกิต

 

รวมไม่น้อยกว่า

36

หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


-  หัวหน้าส่วนงานด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน


-  นักวิจัยที่มีทักษะและความชำนาญการวิจัยด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม


-  นักวิชาการหรือเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการต่าง ๆ


-  บุคลากรทางการศึกษาด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม

 

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (พิเศษ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (พิเศษ)

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.วนิพพล  มหาอาชา (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร

ผศ.ดร.วนิพพล  มหาอาชา (ประธานหลักสูตร)
อ.ดร.ธเนศ  เกษศิลป์ (เลขาประจำหลักสูตร)
น.ส.ภานุการณ์  สนใจ (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอก : ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  1. รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาโท

  2. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย

  3. การรับเข้าศึกษา : รับเฉพาะนักศึกษาไทย

  4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ

  5. การให้ปริญญาแก่ผู้ส าเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

จุดเด่นของหลักสูตร

เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ การวิจัย และแนวคิดเชิงลึกครอบคลุมศาสตร์ทางด้านนโยบาย สาธารณะและการจัดการภาครัฐ ซึ่งจะทำให้บัณฑิตพร้อมรับและก้าวนำการเปลี่ยนแปลงขององค์การและ สังคม มีทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และสามารถนำเอาหลักการทางวิชาการไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ภายใต้หลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

- หลักสูตรภาคปกติ

  (๑) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก  แบบ ก ๒

       (๑.๑) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาในภาคเรียนสุดท้าย (อยู่ระหว่างรอผล

การสอบภาคเรียนสุดท้าย) ในระดับปริญญาตรีไม่จำกัดสาขาวิชา ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 

       (๑.๒)   ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

       (๑.๓)    ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ

คัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

-  หลักสูตรภาคพิเศษ

(๑) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก ๒

      (๑.๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

      (๑.๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

      (๑.๓) มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๓ ปี โดยนับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา

      (๑.๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๑.๒) และ (๑.๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร

เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

                                              

(๒) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข

      (๒.๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขาวิชา จากสถาบัน อุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 

       (๒.๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

       (๒.๓) มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๓ ปี โดยนับถึงวันรายงาน

ตัวเข้าศึกษา

       (๒.๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๒.๒) และ (๒.๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร

เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3

หน่วยกิต

 

วิทยานิพนธ์

12

หน่วยกิต

 

รวม ไม่น้อยกว่า

36

หน่วยกิต

แผน ข

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

9

หน่วยกิต

 

สารนิพนธ์

6

หน่วยกิต

 

รวม ไม่น้อยกว่า

36

หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


-  นักวิจัยที่มีทักษะและศักยภาพด้านการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหน่วยงานภาครัฐ


-  ผู้บริหาร ผู้นำทางด้านการบริหารในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน


-  นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงาน             

ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชน


-  บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

 

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเวชสารสนเทศ (หลักสูตรภาคพิเศษ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเวชสารสนเทศ (หลักสูตรภาคพิเศษ)

ชื่อปริญญา

การจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการเวชสารสนเทศ)

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.แสงเทียน อยู่เถา (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
รศ.ดร.แสงเทียน อยู่เถา (ประธานหลักสูตร)
อ.ดร.อุดมสิทธิ์  จีรสิทธิ์กุล (เลขาประจำหลักสูตร)
นางน้ำอ้อย คำชื่น (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอก : ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  1. รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาโท

  2. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย

  3. การรับเข้าศึกษา : รับเฉพาะนักศึกษาไทย

  4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ

  5. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่มีการบูรณาการและการประยุกต์ศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการสารสนเทศทางการแพทย์ การจัดการด้านฐานข้อมูลทางการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เวชระเบียน เวชสถิติ รหัสโรคและหัตถการ การสื่อสารข้อมูล และการวิจัยทางการแพทย์ มาใช้กับงาน ข้อมูลข่าวสาร งานเวชระเบียนและงานที่เกี่ยวข้องในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเวชระเบียน หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น

สารสนเทศทางการแพทย์ การจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ สถิติสาธารณสุข สถิติ ชีวสถิติ

คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมชีวเวช วิศวกรรมการแพทย์ วิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับ

การแพทย์และสาธารณสุข จากสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

(๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

(๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษา

ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3

หน่วยกิต

 

วิทยานิพนธ์

12

หน่วยกิต

 

รวมไม่น้อยกว่า

36

หน่วยกิต

แผน ข

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

9

หน่วยกิต

 

สารนิพนธ์

6

หน่วยกิต

 

รวมไม่น้อยกว่า

36

หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักบริหารงานด้านเวชระเบียน

  2. นักเวชสารสนเทศ

  3. นักวิจัยทางด้านเวชระเบียน เวชสถิติ และเวชสารสนเทศ

  4. ผู้ดูแลระบบรหัสมาตรฐานและฐานข้อมูลโรงพยาบาล

  5. ผู้ดูแลระบบ และเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์(EMR/EHR)

  6. บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านเวชสารสนเทศ หรือด้านเวชระเบียน

 

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (ภาคปกติและพิเศษ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (ภาคปกติและพิเศษ)

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม)

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

วิชาเอก

  • วิชาเอกการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน

  • วิชาเอกการบริหารงานยุติธรรม

  • วิชาเอกการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม

  • วิชาเอกการควบคุมสังคม

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักวิชาการอาชญาวิทยาในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระและองค์กรระหว่างประเทศ

  • นักวิชาการยุติธรรมในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระและองค์กรระหว่างประเทศ

  • นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ และองค์กรระหว่างประเทศ

  • เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณธรรมมีความรู้ทางวิชาการ วิจัย และวิเคราะห์องค์ความรู้ให้ครอบคลุมศาสตร์ด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม ซึ่งทำให้มหาบัณฑิตพร้อมรับและก้าวนำการเปลี่ยนแปลงขององค์กรและสังคม มีทักษะในการเรียนรู้ และสามารถประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมในการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ ความสามารถ ดังนี้

  • มีคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

  • มีความรู้ สามารถในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม

  • มีการนำองค์ความรู้ด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมมาประยุกต์เพื่ออธิบายพฤติกรรมอาชญากรรม และปัญหางานยุติธรรม

  • มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามโดยจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

  • มีความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลจากการวิจัยมาใช้  มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากตัวเลข และสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
รศ.ดร.ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี (ประธานหลักสูตร)

อ.ดร.ศุภกร ปุญญฤทธิ์(เลขาหลักสูตร)
น.ส.ภานุการณ์  สนใจ (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

 

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติ)

ชื่อปริญญา

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ)

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.กมลพร  สอนศรี (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
รศ.ดร.กมลพร  สอนศรี (ประธานหลักสูตร)นางน้ำอ้อย คำชื่น (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอก : – ไม่มี –

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  1. รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาโท

  2. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย

  3. การรับเข้าศึกษา : รับเฉพาะนักศึกษาไทย

  4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ

  5. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ชื่อปริญญา

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต(นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ)

จุดเด่นของหลักสูตร

เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ การวิจัย และแนวคิดเชิงลึกครอบคลุมศาสตร์ทางด้านนโยบาย สาธารณะและการจัดการภาครัฐ ซึ่งจะทำให้บัณฑิตพร้อมรับและก้าวนำการเปลี่ยนแปลงขององค์การและ สังคม มีทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และสามารถนำเอาหลักการทางวิชาการไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ภายใต้หลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

- หลักสูตรภาคปกติ

  (๑) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก  แบบ ก ๒

       (๑.๑) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาในภาคเรียนสุดท้าย (อยู่ระหว่างรอผล

การสอบภาคเรียนสุดท้าย) ในระดับปริญญาตรีไม่จำกัดสาขาวิชา ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 

       (๑.๒)   ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

       (๑.๓)    ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ

คัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

-  หลักสูตรภาคพิเศษ

(๑) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก ๒

      (๑.๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

      (๑.๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

      (๑.๓) มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๓ ปี โดยนับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา

      (๑.๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๑.๒) และ (๑.๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร

เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

                                              

(๒) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข

      (๒.๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขาวิชา จากสถาบัน อุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 

       (๒.๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

       (๒.๓) มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๓ ปี โดยนับถึงวันรายงาน

ตัวเข้าศึกษา

       (๒.๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๒.๒) และ (๒.๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร

เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3

หน่วยกิต

 

วิทยานิพนธ์

12

หน่วยกิต

 

รวม ไม่น้อยกว่า

36

หน่วยกิต

แผน ข

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

9

หน่วยกิต

 

สารนิพนธ์

6

หน่วยกิต

 

รวม ไม่น้อยกว่า

36

หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


-  นักวิจัยที่มีทักษะและศักยภาพด้านการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหน่วยงานภาครัฐ


-  ผู้บริหาร ผู้นำทางด้านการบริหารในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน


-  นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงาน             

ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชน


-  บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

 

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคพิเศษ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคพิเศษ)

ชื่อปริญญา

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ)

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.กมลพร  สอนศรี (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
รศ.ดร.กมลพร  สอนศรี (ประธานหลักสูตร)นางน้ำอ้อย คำชื่น (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอก : – ไม่มี –

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  1. รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาโท

  2. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย

  3. การรับเข้าศึกษา : รับเฉพาะนักศึกษาไทย

  4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ

  5. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

  1. เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2553

  2. เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป

  3. คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร พิจารณาหลักสูตรนี้ในการประชุมครั้งที่ 7/2553 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

  4. สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 442 เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน : หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในปีการศึกษา 2555 (หลังเปิดสอน 1 ปี)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :

  1. นักวิจัยที่มีทักษะและศักยภาพด้านการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐ

  2. ผู้บริหารและผู้นำในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

  3. นักวิชาการ/ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยต่างๆ

  4. บุคลากรทางการศึกษาด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

 

ปริญญาเอก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรดุษฎบีัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติ)

ชื่อปริญญา

รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ)

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
รศ.ดร.ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย (ประธานหลักสูตร)
รศ.ดร.นภเรณู  สัจจรักษ์ ธีระฐิติ (เลขาหลักสูตร)
น.ส.ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอก : ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  1. รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาเอก

  2. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย

  3. การรับเข้าศึกษา : รับเฉพาะนักศึกษาไทย

  4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ

  5. การให้ปริญญาแก่ผู้ส าเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

จุดเด่นของหลักสูตร

– มุ่งเน้นการสร้างความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

– มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้จากภาคปฏิบัติสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์

– มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการลดช่องว่างและสร้างความเป็นธรรมในสังคม

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

  ๑.สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการการ

    อุดมศึกษาให้การรับรอง                

  ๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยนสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐

  ๓.มีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนหลังจบปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า ๓ ปี

    หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในระดับผู้บริหารระดับต้น ระดับกลางและระดับสูงของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

  ๔.ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษา

    ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3

หน่วยกิต

 

วิทยานิพนธ์

36

หน่วยกิต

 

รวมไม่น้อยกว่า

60

หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชนระดับสูง

  2. นักวิชาการด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

  3. นักวิจัยที่มีทักษะและศักยภาพสูงด้านการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐ

  4. อาจารย์มหาวิทยาลัยด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

  5. ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

 

หลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรดุษฎบีัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคพิเศษ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรดุษฎบีัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคพิเศษ)

ชื่อปริญญา

รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ)

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.ศิริพร แย้มนิล (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร

รศ.ดร.ศิริพร แย้มนิล(ประธานหลักสูตร)
รศ.ดร.นภเรณู  สัจจรักษ์ ธีระฐิติ (เลขาประจำหลักสูตร)
น.ส.ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอก : ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  1. รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาเอก

  2. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย

  3. การรับเข้าศึกษา : รับเฉพาะนักศึกษาไทย

  4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ

  5. การให้ปริญญาแก่ผู้ส าเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

จุดเด่นของหลักสูตร

– มุ่งเน้นการสร้างความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

– มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้จากภาคปฏิบัติสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์

– มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการลดช่องว่างและสร้างความเป็นธรรมในสังคม

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

  ๑.สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการการอุดม

    ศึกษาให้การรับรอง

  ๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยนสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐

  ๓.มีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนหลังจบปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า ๓ ปี หรือ

    เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในระดับผู้บริหารระดับต้น ระดับกลางและระดับสูงของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

  ๔.ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษา

    ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒

 

หมวดวิชาบังคับ

21

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3

หน่วยกิต

 

วิทยานิพนธ์

36

หน่วยกิต

 

รวมไม่น้อยกว่า

60

หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชนระดับสูง

  2. นักวิชาการด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

  3. นักวิจัยที่มีทักษะและศักยภาพสูงด้านการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐ

  4. อาจารย์มหาวิทยาลัยด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

  5. ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

 

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรม และสังคม (ภาคพิเศษ)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรสาขาวิชาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม)

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.วีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์ (รักษาการประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
ผศ.ดร.วีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์ (รักษาการประธานหลักสูตร)
รศ.ดร.พรรณชฎา  ศิริวรรณบุศย์ (เลขาประจำหลักสูตร)
น.ส.ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอกที่เปิดสอน : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม จัดการสอนออกเป็น

  1. วิชาเอกอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (Criminology and Justice Administration)

  2. วิชาเอกอาชญาวิทยาและสังคม (Criminology and Society)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

  ๑.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททุกสาขาวิชา โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐

  ๒.มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๒ ปี

  ๓.ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ

     การคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร :

ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2533 หลักสูตรปริญญาเอก ข้อ 7.2 แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมี การทำวิทยานิพนธ์ ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม ดังนี้

นักศึกษา จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ทั้งนี้วิทยานิพนธ์แบบ (1) และ (2) จะต้องมีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้นในการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาการบริหาร งานยุติธรรม และสังคม ทางคณะกรรมการประจำหลักสูตรจึงกำหนดจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ดังนี้

นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อย กว่า 36 หน่วยกิต นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะต้องทำวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 87 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒

 

หมวดวิชาแกน

9

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาบังคับ

12

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3

หน่วยกิต

 

วิทยานิพนธ์

36

หน่วยกิต

 

รวมไม่น้อยกว่า

60

หน่วยกิต

 

หลักสูตรปรัชญาดุษฑีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฑีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.คนางค์  คันธมธุรพจน์ (ประธานหลักสูตร)

รายละเอียด

ชื่อประธานและเลขาหลักสูตร
ผศ.ดร.คนางค์  คันธมธุรพจน์ (ประธานหลักสูตร)
ผศ.ดร.สุภาภรณ์  สงค์ประชา (เลขาประจำหลักสูตร)
น.ส.ภานุการณ์ สนใจ (ผู้ช่วย/เจ้าหน้าที่หลักสูตร)

วิชาเอก : ไม่มี

วิชาเอก : ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร      :  ไม่น้อยกว่า ๔๘ หน่วยกิต

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

   ๑.สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาใน สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม

     สังคมวิทยา กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยา  และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่

     สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

   ๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐

   ๓.ต้องมีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

   ๔.ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ

     ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

รูปแบบของหลักสูตร

๑.

รูปแบบ

:

หลักสูตรระดับปริญญาเอก

๒.

ภาษาที่ใช้ 

:

ภาษาไทย

๓.

การรับเข้าศึกษา 

:

รับเฉพาะนักศึกษาไทย

๔.

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น 

:

เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ

๕.

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา 

:

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

๑.

เป็นหลักสูตรเปิดใหม่ พ.ศ.๒๕๖๑

๒.

เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไป

๓.

๔.

สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักการการเปิดหลักสูตรนี้ในการประชุมครั้งที่ ๕๑๔

เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙

คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร พิจารณาหลักสูตรนี้ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๑  วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

๕.

สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่๕๓๓  เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑

 

 

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒

 

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน

ไม่นับหน่วยกิต

 

หมวดวิชาบังคับ

9

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3

หน่วยกิต

 

วิทยานิพนธ์

36

หน่วยกิต

 

รวมไม่น้อยกว่า

48

หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๑. นักวิจัยที่มีทักษะ และศักยภาพในการวิจัยด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม

๒. นักวิชาการ  พนักงานมหาวิทยาลัย บุคลากรทางการศึกษาด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ในสถาบันการศึกษา

๓. ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมในบริษัทที่ปรึกษา และหน่วยงานราชการด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม